ภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ


คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


Department of Tourism and Hospitality Industry , Faculty of Humanities , Kasetsart University



Social Network


หลักสูตร


การจัดการศึกษาของภาควิชาศิลปาชีพ

การจัดการศึกษาของภาควิชาศิลปาชีพ คณะมนุษยศาสตร์มีลักษณะเป็น "การศึกษาเพื่ออาชีพ" (Career Education) หรือหลักผสมผสานระหว่างวิชาการและวิชาชีพ หรือระหว่าง "การศึกษา" กับ "งาน" ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน ของแนวคิดการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) ทั้งในแง่ “สาระแห่งศาสตร์” และ “กระบวนการแห่งศาสตร์”

สาระแห่งศาสตร์

หลักสูตรของภาควิชาศิลปาชีพประกอบขึ้นด้วยรายวิชาในสาขาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันและเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี ได้แก่

  • กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ การสื่อสาร และการจัดการข้ามวัฒนธรรม
  • กลุ่มวิชาการจัดการและวางแผนการท่องเที่ยวและโรงแรม
  • กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม

กระบวนการแห่งศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของภาควิชาศิลปาชีพประกอบกระบวนการที่หลากหลายเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้านและสมบูรณ์ ได้แก่

  • การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งสมรรถนะ และการจัดการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัย
  • การใช้บุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวหรือผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกควบคู่กับการเรียนการสอนของคณาจารย์
  • การให้นิสิตฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ (4 เดือน) ณ สถานประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

เส้นทางการประกอบอาชีพ

รายละเอียดของแต่ละหลักสูตร

ปัจจุบัน ภาควิชาศิลปาชีพ คณะมนุษยศาสตร์จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่

ศิลปศาสตรบัณฑิต​ สาขาวิชา​การสร้างสรรค์​การ​บริการ​เพื่อ​ธ​ุ​ร​กิจการ​ท่องเที่ยว​ (หลักสูตร​ปรับปรุง​ปี​ พ.ศ​ 2564)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (นานาชาติ)