ความเป็นมา


พัฒนาการของภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ (ภาควิชาศิลปาชีพในอดีต)

ภาควิชาศิลปาชีพจัดตั้งขึ้นพร้อมกับการสถาปนาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2524 และเป็นหนึ่งในสามภาควิชาที่มุ่งเน้นการเรียนสอนในลักษณะ “การศึกษาเพื่ออาชีพ” (Career Education) ประกอบด้วยภาควิชาศิลปนิเทศ (ปัจจุบัน คือ ภาควิชาดนตรี และภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ (ปัจจุบันยุบรวมกับภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์) และภาควิชาศิลปาชีพ

ภาควิชาศิลปาชีพ คณะมนุษยศาสตร์ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางด้านการท่องเที่ยวและ การโรงแรมระดับปริญญาตรี เป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หลักสูตรที่เปิดสอนประกอบด้วย 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการเดินทางและท่องเที่ยว และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการโรงแรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้เปิดหลักสูตรเพิ่มอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการเลขานุการ โดยในปี พ.ศ. 2542 ภาควิชาศิลปาชีพได้ปรับปรุงหลักสูตรทั้งสามหลักสูตร ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นและใช้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2554 ภาควิชาศิลปาชีพได้มีการปรับปรุงหลักสูตรเป็นครั้งที่ 2 โดยในครั้งนี้ได้ปรับปรุงหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการเดินทางและท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมภายใต้ “หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2554” และเปิดรับนักเรียนเข้ารับ การศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2554

ในปี พ.ศ. 2555 ภาควิชาศิลปาชีพได้เปิดหลักสูตรเพิ่มอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (นานาชาติ) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 และเริ่มรับบุคคลเข้าศึกษาเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 โดยช่วงเวลาจัดการเรียนการสอนจะเป็นแบบสากล คือ เริ่มเปิดภาคเรียนที่ 1 ตั้งแต่สิงหาคมเป็นต้นไป

ในปี พ.ศ. 2559 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยขึ้น คือ สาขานวัตกรรมการท่องเที่ยว และสาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (นานาชาติ) ต่อมาภาควิชาศิลปาชีพได้เปลี่ยนชื่อเป็น ภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสาขาวิชาที่สอนอยู่

ในปี พ.ศ. 2564 ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยขึ้น คือ สาขาการสร้างสรรค์การบริการเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว และสาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ (นานาชาติ) จะสำเร็จการศึกษาในปี 2568


การจัดการศึกษาของภาคภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

การจัดการศึกษาของภาคภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ คณะมนุษยศาสตร์มีลักษณะเป็น "การศึกษาเพื่ออาชีพ" (Career Education) หรือหลักผสมผสานระหว่างวิชาการและวิชาชีพ หรือระหว่าง "การศึกษา" กับ "งาน" ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน ของแนวคิดการจัดการศึกษาแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) ทั้งในแง่ “สาระแห่งศาสตร์” และ “กระบวนการแห่งศาสตร์”


สาระแห่งศาสตร์

หลักสูตรของภาคภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการประกอบขึ้นด้วยรายวิชาในสาขาต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันและเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี ได้แก่


กระบวนการแห่งศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของภาคภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการประกอบกระบวนการที่หลากหลายเพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างรอบด้านและสมบูรณ์ ได้แก่


ปรัชญาและปณิธาน

ภาคภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการมีปรัชญาและปณิธานในการผลิตบัณฑิตให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นเลิศทางการศึกษาด้านธุรกิจบริการท่องเที่ยวแบบครบวงจร รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ


วิสัยทัศน์

ภาคภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเป็นภาควิชาที่มีความเป็นเลิศทางการศึกษาด้านธุรกิจบริการท่องเที่ยวแบบครบวงจร


พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
  2. ศึกษาและวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนี้ให้อยู่ในระดับสากล
  3. บริการทางวิชาการแก่สังคมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ ตลอดจนมีภูมิปัญญาระดับอาชีพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
  4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสานโยงเอกลักษณ์และมรดกไทยให้เป็นสิ่งดึงดูดใจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย

วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาและสร้างหลักสูตรทางการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัยตรงกับมาตรฐานสากลและตอบสนองความต้องการด้านแรงงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
  2. ผลิตงานวิจัยและสร้างความร่วมมือทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการด้านการจัดการและการวางแผนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้